ชาติ กอบจิตติ เจ้าของผลงานซีไรต์ปี 2537
"เวลา" พิมพ์ครั้งที่ 14 และ 10
เวลา เป็นผลงานการเขียนของ ชาติ กอบจิตติ
ได้รับรางวัลนวนิยายรางวัลดีเด่นงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ปี 2537 และนวนิยายรางวัลซีไรท์ ปี 2537
เล่มนี้เป็นงานเขียนเล่มที่สองของชาติ กอบจิตติ ที่ได้รับรางวัลซีไรต์
ถัดจากเรื่อง คำพิพากษา ได้ในปี 2524
นวนิยายเรื่อง เวลา มีจำนวนทั้งหมด
232 หน้า เนื้อหานวนิยายเกี่ยวกับการเดินของเวลาที่บอกเล่าเรื่องราวมนุษย์ในช่วงสุดท้ายของชีวิต
ผู้เขียนสร้างสรรค์งานออกมาให้มีความซับซ้อน มีตัวละครหลักคือผู้กำกับภาพยนตร์ เขาตั้งใจไปดูละครเวทีเรื่อง
"เวลา" จากก ระแสที่ว่าเป็นละครเวทีที่น่าเบื่อที่สุดในรอบปี
สร้างโดยนักศึกษา แต่เรื่องราวกลับพูดถึงชีวิตคนชราในสถานสงเคราะห์คนชราแห่งหนึ่ง จากผลงานการเขียนที่โดดเด่นและมีอัตลักษณ์ของชาติ
กอบจิตติ ดังนั้นจึงได้คัดเลือกนวนิยายเรื่องนี้มาวิเคราะห์
ดังต่อไปนี้
"เวลา" พิมพ์ครั้งที่ 19
1. แก่นของเรื่อง หรือแนวคิด (Theme)
แนวคิดหลักหรือแก่นของนวนิยายเรื่องเวลา เป็นการสะท้อนแนวคิดทางพระพุทธศาสนาว่าทุกอย่างในโลกล้วนเป็นสิ่งที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาทั้งสิ้น
สมมุติขึ้นมาสนองกิเลสแค่นั้น ทุกอย่างนั้นมันไม่ใช่ของเราเลย
แม้กระทั่งร่างกายมนุษย์เองที่เป็นแค่การรวมกันขึ้นมาของธาตุทั้งสี่ มองในระดับสูงสุดคือการค้นพบสัจธรรมแห่งชีวิตที่ว่าชีวิตเรานี้
"ไม่มีอะไรเลย"
จะเห็นได้จากผู้เขียนนำเสนอคำว่า “ไม่มีอะไร ไม่มีอะไรจริงๆ” ในนวนิยายเรื่องนี้ตั้งแต่เปิดเรื่องจนจบเรื่อง
ผู้เขียนมุ่งเสนอแนวคิดนี้ให้กับคนชราบนเวทีและผูกให้เรื่องราวเกี่ยวข้องกับตัวละครเอกด้วย
เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจในยามเกิดทุกข์
2. โครงเรื่อง (Plot) และเนื้อเรื่อง (Story)
นวนิยายเรื่องเวลา
สร้างรูปแบบโครงเรื่องที่ง่าย เหตุการณ์ต่างๆ ในเรื่องจะดำเนินไปตามลำดับเวลา
โดยสามารถแบ่งโครงเรื่องออกเป็น 2
ส่วน ดังนี้
โครงเรื่องหลักของ เวลา
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดูละครเวทีของตัวเอกที่ทำหน้าที่เล่าเรื่องทั้งหมดในนวนิยายเรื่องนี้
คือผู้กำกับภาพยนตร์ เป็นคนทำงานหนัก ไม่มีเวลาให้ครอบครัว หลังจากนั้นก็สูญเสียลูกสาวกับภรรยาอันเป็นที่รัก
เมื่อว่างจากงานผู้กำกับภาพยนตร์ได้มานั่งรอดูละครเวทีที่ว่ากันว่าเป็นเรื่องที่น่าเบื่อที่สุดในรอบปี
เวลาบนเวทีเดินไปอย่างช้าๆ เมื่อการแสดงบนเวทีหยุดชะงักหรือไม่น่าสนใจ ผู้กำกับภาพยนตร์จะเล่าประสบการณ์ในอดีตของตัวเองที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์บนเวที
รวมทั้งจะแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ ตามละครบนเวทีและจะนำเหตุการณ์บนเวทีมาสมมุติทำเป็นภาพยนตร์ของตัวเอง
โดยใช้การเล่าเรื่องสลับกันไปมาบ้าง จนเหมือนเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงบนเวทีตลอดทั้งเรื่อง
3. ตัวละคร (Character)
ผู้กำกับภาพยนตร์ เป็นตัวหลักในการเล่าเรื่องราวทั้งหมดในนวนิยายเรื่องนี้
โดยการเล่าเหตุการณ์ในชั่วชีวิตเขาทั้งหมด เขาแสวงหาความสุขในช่วงบั้นปลายของชีวิต
ทำในสิ่งที่อยากทำ หลังจากการสูญเสียคนรักไปทั้งภรรยาและลูกสาว
เขามีโอกาสไปดูละครเวทีที่ว่ากันว่าเป็นละครเวทีน่าเบื่อที่สุดในรอบปี
สร้างโดยกลุ่มนักศึกษา
ด้านกายภาพ
: เป็นชายวัยสูงอายุ อายุหกสิบสามปี
“ที่น่าขำก็คือ
ผมเองอายุหกสิบสามเข้าปีนี้แล้ว ยังไม่” (น.15)
ด้านจิตใจ : เป็นคนใจดี ซื่อสัตย์ มีความเมตตากรุณาและสงสารคนที่ลำบาก
โดยเฉพาะคนชรากับเด็ก
ภรรยาผู้กำกับภาพยนตร์ เป็นอีกตัวประกอบในนวนิยายเรื่องนี้
ทำหน้าที่เป็นภรรยาของผู้กำกับภาพยนตร์ เลี้ยงดูลูกสาวคนเดียวของครอบครัว
ด้านกายภาพ : เป็นหญิงวัยห้าสิบแปด
“หลังจากกลับมาคราวนี้
ดูเธออ่อนเพลีย แก่ลงไปมาก ทั้งๆ ที่อายุเพียงห้าสิบแปดเท่านั้น” (น.58)
อุบล
เป็นตัวละครในละครเวทีและเป็นหญิงสาวที่คอยดูแลคนชราในบ้านพักตลอดทั้งเรื่อง
ด้านกายภาพ
: เป็นหญิงสาววัยยี่สิบต้นๆ
หน้าตาธรรมดา
“ผมคะเนว่าเธอคงอยู่ในวัยยี่สิบต้นๆ
อย่างมากก็คงไม่เกินยี่สิบห้า แต่หน้าตาที่เรียบสงบนั้น ทำให้เธอดูแก่กว่าวัย”
(น.23)
คนงานชาย เป็นตัวละครในละครเวทีและเป็นชายอีกแรงที่คอยดูแลคนชราในบ้านพักตลอดทั้งเรื่อง
ด้านกายภาพ : มีรูปร่างล่ำเตี้ย กะทัดรัด
แข็งแรง อายุประมาณสี่สิบกว่า
“คนงายชายร่างล่ำ
เตี้ย อายุประมาณสี่สิบกว่า” (น.50)
ลำเจียก เป็นตัวละครในละครเวทีและเป็นหนึ่งในแม่บ้านที่ร่วมดูแลคนชราในบ้านพักตลอดทั้งเรื่อง
ด้านกายภาพ
: เป็นหญิงร่างอ้วน คิ้วดก
อายุราวสามสิบห้า
“หญิงร่างอ้วน คิ้วดก
เธอแต่งกายด้วยชุดสีเดียวกันกับแม่บ้าน อายุคงอยู่ในราวสามสิบห้า” (น.50)
ยายบุญเรือน เป็นตัวละครในละครเวที และเป็นผู้ดีเก่ามีฐานะ
ต้นตระกูลที่สูงส่ง นางยังยึดติดกับความสุขในอดีตของตนเอง
คุยโอ้อวดให้คนโน้นคนนี้ฟังจนท้ายที่สุดก็เข้าความเป็นไปของชีวิต
“โอ้ย
ตอนนั้นดิฉันยังมีคนรถ คนใช้ นึกจะไปเที่ยวไหน ไปดูอะไร สะดวกสบาย” (น.65-66)
ยายสอน
เป็นตัวละครในละครเวที เป็นหญิงชราหลังงองุ้ม เดินลำบาก ปล่อยวางกับชีวิต ไม่มีความกังวลใจใดๆ
ทั้งสิ้น อยู่เพื่อรอวันตาย เข้าใจและเห็นสัจธรรมในการดำเนินชีวิตแล้ว
(อธิษฐาน) “เจ้าประคุณ ขอให้อิฉันตายวันตายพรุ่งเถอะ อิฉันเบื่อเต็มทีแล้ว
ไม่มีห่วงมีกังวลแล้ว อิฉันพร้อมแล้วเจ้าค่ะ” (น.47)
ยายจันทร์ เป็นตัวละครในละครเวที เป็นหญิงชราที่มุ่งปฏิบัติทางธรรม
ชอบใส่บาตร คิดดีทำดีกับทุกคน
แต่เป็นคนขี้ลืมโดยเฉพาะเงิน
เกิดเหตุการณ์เงินหายจนเป็นเหตุให้เกิดเรื่องใหญ่โตขึ้นในบ้านพัก
“เงินอิฉันหายค่ะคุณแม่
หายจริงๆ” ยายจันทร์ยืนยันเสียงสั่น (น.27)
ยายทับทิม เป็นตัวละครในละครเวที หญิงชราที่ห่วงหาลูกชายสุดท้องซึ่งเป็นบ้า
คอยเฝ้าคอยอยู่หน้าประตูพร้อมกับใบหน้าที่เปื้อนไปด้วยน้ำตา ระยะเวลาเกือบเดือนที่ไม่ได้เจอหน้าลูกชาย
(กลับสะอื้นออกมา) “กลัวมันจะเป็นอะไรไปเท่านั้นแหละคุณแม่ มันจะมาหรือไม่มาไม่เป็นไรหรอก
แต่อย่าให้มันเป็นอะไรเลย” (น.95)
ยายนวล เป็นตัวละครในละครเวที หญิงชราใจดี
ชอบทำบุญทำทาน และเป็นคนมีระเบียบวินัยสูง
จดแม้กระทั่งเลขในธนบัตรเพื่อนับจำนวน
(พูดสวนทันที)
“ก็ฉันนี่ไง ฉันจดของฉันไว้ทุกใบ แล้วฉันก็ยังไม่บ้าด้วย” (น.31)
ยายเอิบ เป็นตัวละครในละครเวที หญิงชราผู้ชอบการเสี่ยงโชคโดยการซื้อลอตเตอรี่
หวังว่าถ้าดวงดีคุณภาพชีวิตจะดีขึ้น และมีลูกเยอะแต่ไม่มีคนดูแล
หรือแม้กระทั่งมาเยี่ยมเลย
“ส่วนของฉันไม่เห็นหัวมันเลย
สิบคน ไม่เคยเห็นเลย” ยายเอิบนึกถึงลูกตัวเอง
ยายอยู่ เป็นตัวละครในละครเวที หญิงอัมพาต
ผอมแห้งหนังติดกระดูก ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แม้กระทั้งการอาบน้ำ การทานข้าว
ตอบรับได้แค่ว่า “อือ...เออ” และชอบทำบุญทำทาน
“ร่างที่นั่งอยู่บนรถเข็นนั้น
คือโครงกระดูกที่เหี่ยวย่น สีผิวซีด ซีดจนเชื่อว่าร่างนั้นไม่มีเลือดอยู่ภายในแล้ว”
(น.22) “อือ...เออ” (ไม่เข้าใจ) (น.26)
ชายเสียสติ เป็นตัวละครในละครเวที ชายแก่วัยชรา
ไม่ชอบใส่เสื้อผ้า ถูกขังอยู่ในห้องลูกกรงและชอบตะโกนว่า “ไม่มีอะไร ไม่มีอะไรจริงๆ”
“น่าน้า
เมื่อวานน้าก็ไม่ซื้อ น้าสงสารผมเถอะ ถ้าวันนี้ผมขายได้น้อยอีก ผมโดนเขาด่าแน่ นะ น้านะ” (น.97)
เล็ก เป็นตัวละครในละครเวที ชายหนุ่มร่างผอม
โกนผม สังคมมองว่าเขาเป็นคนบ้า แต่คำพูดที่คนๆนี้พูดออกมากลับแฝงด้วยสัจธรรมและข้อคิดเตือนสติมนุษย์
“ใครโกนหัวให้มัน”
“มันผอมไปนะ” (น.199)
ตัวละครประกอบอื่นๆ ได้แก่
หลายชายหลานสาวยายนวล พระ คุณตาที่ชอบอุบล ย่า พ่อ แม่ หญิงท้องแก่
เด็กหนุ่ม เด็กสาว เด็กผู้หญิง สาวใช้
คนขายลอตเตอรี่
4. บทสนทนา (Dialogue)
นวนิยายเรื่อง เวลา
มีการใช้บทสนทนาซึ่งเหมาะสมกับกาลสมัย บทบาท ลักษณะนิสัยของตัวละครและความคิดของตัวละคร
ทำให้เรื่องมีความสมจริง น่าสนใจ และมีส่วนช่วยในการดำเนินเรื่อง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
บทสนทนาแม่บ้านให้กำลังใจยายจันทร์หลังจากทำเงินหาย มีใจความดังนี้
“ยายลองนึกค่อยๆ
นึกดูให้แน่อีกที หนูว่ามันคงไม่หายไปไหนหรอก” (น.32)
บทสนทนาแสดงความมีน้ำใจของยายนวล มีใจความดังนี้
“นี่แม่จันทร์
แม่เอาเงินฉันไปก่อนแล้วกัน ฉันให้ยืม แม่จะได้มีไว้ซื้อของใส่บาตร” “มีจ้ะ แม่ไม่ต้องห่วงหรอก ในตู้ฉันยังมีอีก” (น.33)
บทสนทนาแสดงถึงความห่วงใยของยายเอิบที่มีต่อลูกชาย มีใจความดังนี้
“ฉันน่ะเลิกคิดมานมนานแล้ว
เลี้ยงส่งเขาถึงฝั่งแล้วก็แล้วกันไป ทุกวันนี้นี่ก็ห่วงแต่ไอ้เล็กเท่านั้นนั่นแหละ
กลัวมันจะเป็นอะไรไป” “ป่านนี้ไม่รู้จะเป็นตายร้ายดียังไง ลูกเอ๋ย” แกปาดน้ำตาที่ไม่มีเสียงสะอื้น
ยกมือขึ้นไหว้ท่วมหัว (น.38)
5. ฉากและบรรยากาศ (Setting and Atmosphere) นวนิยายเรื่องนี้มีฉากในเรื่องไม่มาก
มีดังนี้
โรงละครเวที
ผู้กำกับบรรยายเหตุการณ์ขณะรอการแสดงต่อเนื่องไป มีใจความดังนี้
“แสงจากภายนอกเริ่มเรืองเรื่อเข้ามาในฉาก
เข้ามาทางกระจกฝ้าเหนือบานหน้าต่างและช่องระบายลมเข้ามาทางประตูกลางทางเดินที่เปิดทิ้งไว้
มองออกไปเห็นพุ่มไม้ขึ้นอยู่ด้านข้างของตัวตึกอีกหลังหนึ่ง” (น.35)
ฉากบนเวทีการแสดง
บทเวทีมีแสงไฟประกอบการแสดง
มีนาฬิกาโบราณแขวนไว้กลางเสาบนเวที มีกลิ่นปัสสาวะมาจากบนเวที
ผู้กำกับภาพยนตร์อธิบายฉากบนเวทีก่อนการแสดงเริ่มขึ้น มีใจความดังนี้
“สักครู่ ลำแสงเล็กๆ
พุ่งลงจับที่นาฬิกาทรงโบราณซึ่งแขวนไว้กับเสากลางห้อง” (น.11)
“นาฬิกาเรือนนั้นไม่เพียงเก่าแต่รูปภายนอก
แม้เนื้อไม้เก่าค่ำตามไปด้วย
แลเห็นรอยกะเทาะแตกของสีที่เคลือบไว้หลุดล่อนไปตามกาลเวลา ยังคราบฝุ่นยังย้ำฟ้องถึงมันขาดคนเอาใจใส่ดูแล”
(น.11)
6. การเล่าเรื่อง (Point of View)
นวนิยายเรื่องเวลาใช้กลวิธีการเล่าเรื่องแบบเป็นบุคคลที่หนึ่ง
( The first person narrator as a main
character) ผู้เขียนเล่าเรื่องในฐานะเป็นตัวละครตัวหนึ่งในเรื่อง
เป็นการเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นคือประสบการณ์ของผู้เขียนเอง
พบว่านวนิยายเรื่องนี้ผู้เขียนนิยมใชสรรพนามบุรุษที่ 1 “ผม”
เป็นการแทนตัวละครเอกในการเล่าเรื่อง ดังข้อความดังต่อไปนี้
“ผมแน่ใจว่าเป็นเสียงเดียวกันกับเสียงที่ผมได้ยินในครั้งแรก
แต่ครั้งนี้ผมจับทิศทางได้ว่า มันดังมาจาห้องใดห้องหนึ่งในห้องลูกกรงนั่นเอง”
(น.14)
สรุปการวิเคราะห์
จากการอ่านนวนิยายเรื่อง เวลา
ได้ทราบแนวคิดมากมายที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้ดี
การเข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่สอดแทรกในเรื่องนี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการเข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเรา ไม่มีอะไรเลย
แม้กระทั่งร่างกายเราก็ไม่ใช่ของเรา และการเข้าใจโลกธรรม 8
คือการเปลี่ยนแปลงของชีวิตจากปัจจัยต่างๆ
ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไปที่มนุษย์ต้องประสบ
สุดท้ายได้ประโยชน์ในการคิดวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ
และการเข้าใจสภาพความจริงของสังคม
ธีระวัฒน์ พลเยี่ยม
17 พฤศจิกายน 2557
ได้เรียนรู้หลักทางพระพุทธศาสนา ไม่เคยอ่านค่ะ แต่อยากมากค่ะ
ตอบลบHi en j an do FB do an DJ Ch cc DJ Scott fifth cuff HIHh do DJ well FB do an do an do an DJ cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm glad to cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm cm anthem cm to
ตอบลบ